skip to Main Content

เจ้าหน้าที่นำเงินราชการพักในบัญชีส่วนตัว … ผิดวินัยอย่างร้ายแรง !

เจ้าหน้าที่นำเงินราชการพักในบัญชีส่วนตัว ... ผิดวินัยอย่างร้ายแรง !   “การทุจริต คอร์รัปชั่น” เป็นปัญหาสำคัญที่สังคมให้ความสนใจเป็นพิเศษในยุคปัจจุบัน แม้ทุกภาคส่วนจะให้ความร่วมมือกันแก้ไขตลอดมา แต่เนื่องจากพฤติกรรมในทางทุจริตคอร์รัปชั่นสามารถกระทำได้ในหลายรูปแบบทั้งมีความแยบยลและสลับซับซ้อน ทำให้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นมีอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการถือว่าเป็นภัยร้ายแรงของสังคมที่มีผลต่อการพัฒนาของประเทศ หลายภาคส่วนจึงได้แสวงหามาตรการเพื่อการป้องกันและปราบปรามที่เข้มงวด เช่น การลงโทษทางวินัย ดังเช่นคดีจากศาลปกครองฉบับนี้ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่ โดยอาศัยโอกาสที่ตนได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ทำหน้าที่ในการเบิกจ่ายเงินกองทุนของมหาวิทยาลัยให้กับนักวิจัยเพื่อใช้จ่ายในโครงการวิจัย แล้วนำเงินของราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ด้วยวิธีการฝากเงินดังกล่าวเข้าบัญชีธนาคารตนเอง แต่ต่อมาเมื่อได้รับการทวงถามจึงได้นำไปจ่ายให้กับนักวิจัย ข้อเท็จจริงในคดีนี้คือ ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งนักวิชาการการเงินและการบัญชี ระดับ ๖ ในสำนักวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกองทุนมหาวิทยาลัยจากธนาคารจำนวน ๒๓๖,๙๗๖ บาท เพื่อจ่ายให้กับนักวิจัยสองราย คือ ดร. ส. จำนวน ๑๓๖,๙๗๖ บาท และรองศาสตราจารย์ ภ. จำนวน ๑๐๐,๐๐๐…

Read more

คำสั่ง คสช.จัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 293/2559 คำสั่ง คสช.จัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา   ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี – เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 39/2559 เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ดำเนินการตามคำสั่งนี้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยทันที   คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 39/2559 เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งเปิดการสอนและจัดการศึกษาทั้งในและนอกสถานที่ตั้งโดยใช้หลักสูตรที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ผลิตบัณฑิตที่มีปัญหาด้านคุณภาพและไม่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งสภาสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ สภาสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งอาศัยอำนาจและช่องว่างทางกฎหมายดำเนินการในลักษณะที่ส่อเจตนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อให้คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป มีการกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งเกิดปัญหาร้องเรียนและฟ้องร้องทางคดีเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา แม้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้พยายามใช้กลไกทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวแก้ไข ทบทวน หรือดำเนินการใหม่ในเรื่องต่าง ๆ แล้ว แต่ไม่อาจทำให้ปัญหาคลี่คลายได้โดยเร็ว การดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษาเหล่านี้จึงไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล และส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศโดยตรง…

Read more

มาตรา 44 จะนำมาล้างบางกระทรวงศึกษาฯ

ม.44 ล้างบางกระทรวงศึกษาฯ การศึกษา-สาธารณสุข  :  23 มี.ค. 2559 ม.44 ล้างบางกระทรวงศึกษาฯ : เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ โต๊ะการศึกษารายงาน           ส่งสัญญาณมาตลอดว่า...จะใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาแก้ไขปัญหาระบบบริหารงานบุคคล รวมถึงโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพราะด้วยระยะเวลาของรัฐบาลที่เหลืออยู่อีกประมาณ 1 ปี 6 เดือน หากจะให้รอแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบ กฎหมาย หรือข้อบังคับ จะไม่ทันกาล ดังนั้น ค่ำวันที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่…

Read more

ข้อปัญหาของการจัดการศึกษาในระบบไทย

ข้อปัญหาของการจัดการศึกษาในระบบไทย TAGS : ปัญหารการศึกษา การศึกษาไทย ปัญหาครู คุณภาพการศึกษา ข้อปัญหาของการจัดการศึกษาในระบบไทย อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน การศึกษาไทยนั้นตกต่ำลงอย่างมาก และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นแทบจะกลายเป็นปัญหาคาราคาซัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้คือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเหล่าเด็กไทยที่เข้าเรียนในระบบการศึกษาไทย และปัญหาเหล่านี้ แทบจะเห็นกันอย่างชินชา เช่นปัญหาเหล่านี้ 1. คุณภาพการศึกษาพื้นฐานตกต่ำ ในการจัดการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test: O-Net) ในทุกๆปีนั้น ผลที่ออกมามักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกๆปี นั่นก็คือ เด็กไทยมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐานอยู่เสมอๆ หรือแม้แต่การศึกษาขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economics Co-operation and Development, OECD) ที่รู้กันในชื่อของ PISA (Programme for…

Read more

“ตายาย” โดนจำคุกเพราะคดีเก็บเห็ดจริงหรือ?

๑) ข้อหาเก็บเห็ดในป่าสงวนมีหรือไม่ ตอบ ไม่มี มีแต่ข้อหาบุกรุกและตัดไม้แผ้วถางป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ตามข้อหาที่โจทก์ฟ้อง) ๒) ข้อหาบุกรุกและตัดไม้ในเขตป่าสงวน ทำไมต้องลงโทษจำคุก ๑๕ ปี ตอบ ศาลลงโทษจำเลยคนอื่น ๓๐ ปี รับสารภาพแล้วลดเหลือ ๑๕ ปีทุกคน จะหาเหตุผลใดมาลงโทษจำเลยทั้งสองต่างจากคนอื่น ๓) เอาสถานะความเป็น “ตายาย” มาลงโทษเบากว่าคนอื่นหรือไม่ ตอบ ข้อเท็จจริงที่อยู่ต่อหน้าศาล มีเพียงว่า นางแดง ศิริสอน อายุ 48 ปี และ นายอุดม ศิริสอน อายุ 51 ปี คงไม่มีใครคิดว่าจะเป็นตายาย ๔) สมมุติว่าศาลหยิบเรื่องอายุ…

Read more

ตำรวจสามารถยึดใบขับขี่ได้หรือไม่

มีข้อถกเถียงและหลายคนในที่นี่คงเคยประสบกับปัญหาการนี่เองกับตัว หรือได้ยินได้ฟังมาจาการบอกเล่าของเพื่อน พี่น้อง กันบ้างแล้ว ที่นี่เรามาดูกันว่าตำรวจสามารถยึดใบขับขี่ได้หรือไม่ 1) อำนาจจราจร — การขับรถตามท้องถนน แล้วเจอด่านตำรวจ หรือ มีตำรวจเรียกให้หยุด ก็เป็นหน้าที่ของเราผู้ขับต้องหยุดรถ และ อำนาจความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ หากมีคำสั่งให้หยุดรถแล้วไม่ปฏิบัติตาม โดยไม่มีเหตุผล หรือ ข้อแก้ตัวที่เหมาะสม ก็อาจโดนโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากถึงขั้นพุ่งชนสิ่งกีดขวางแล้วหลบหนี ก็มักผิดกว่ากฎหมายจราจรธรรมดา เพราะถือเป็นการต่อสู้กับเจ้าพนักงาน อาจโดนโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตำรวจไม่มีอำนาจยึดกุญแจหรือบัตรอื่นๆได้ 2) การยึดบัตรต่างๆของเจ้าหน้าที่ตำรวจ -มีข้อถกเถียงกันมานาน แล้วว่าเมื่อตำรวจจับกุมผู้กระทำความผิด…

Read more

เข้าใจกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ พ.ศ. 2557

เข้าใจกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ หรือ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 หรือ กฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสิทธิของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง ซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ชั้นต้น มีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 แน่นอนแล้วนั้น การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ว่า มีผู้ค้ำประกันที่เป็นผู้ค้ำประกันรายย่อยหรือบุคคลธรรมดาจำนวนมาก ได้ไปค้ำประกันการกู้เงินให้แก่ครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้อง ซึ่งในกฎหมายเดิมได้ระบุว่า ผู้ค้ำประกันจะเป็นเสมือน "ลูกหนี้ร่วม" ทำให้ทางสถาบันการเงินจะเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันก็ได้ ซึ่งถือว่าสิ่งนี้ไม่เป็นธรรมกับผู้ค้ำประกันรายย่อย จึงทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557…

Read more
Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save