“ตายาย” โดนจำคุกเพราะคดีเก็บเห็ดจริงหรือ?
๑) ข้อหาเก็บเห็ดในป่าสงวนมีหรือไม่
ตอบ ไม่มี มีแต่ข้อหาบุกรุกและตัดไม้แผ้วถางป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ตามข้อหาที่โจทก์ฟ้อง)
๒) ข้อหาบุกรุกและตัดไม้ในเขตป่าสงวน ทำไมต้องลงโทษจำคุก ๑๕ ปี
ตอบ ศาลลงโทษจำเลยคนอื่น ๓๐ ปี รับสารภาพแล้วลดเหลือ ๑๕ ปีทุกคน จะหาเหตุผลใดมาลงโทษจำเลยทั้งสองต่างจากคนอื่น
๓) เอาสถานะความเป็น “ตายาย” มาลงโทษเบากว่าคนอื่นหรือไม่
ตอบ ข้อเท็จจริงที่อยู่ต่อหน้าศาล มีเพียงว่า นางแดง ศิริสอน อายุ 48 ปี และ นายอุดม ศิริสอน อายุ 51 ปี คงไม่มีใครคิดว่าจะเป็นตายาย
๔) สมมุติว่าศาลหยิบเรื่องอายุ (48 และ 51 ) ของจำเลยมาวินิจฉัยว่าเป็น “ตายาย” แล้วรอการลงโทษหรือลงโทษกว่าคนอื่น ได้หรือไม่
ตอบ ได้ แต่คนที่ติดคุกคือศาล ไม่ใช่ตายาย
๕) ถาม ศาลหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ว่าเป็นตายายหรือเป็นคนหาเช้ากินค่ำ
ตอบ อาจมีช่องทางหนึ่งคือ การสืบเสาะและพินิจจำเลยก่อนพิพากษา แต่วิธีการนี้ศาลจะใช้เมื่อมีกรณีศาลก่ำกึ่งว่าจะรอการลงโทษได้หรือไม่ ไม่ใช่ใช้กับกรณีลงโทษหนักเหมือนเช่นคดีนี้
๖) ถาม ทำไมบางคดีศาลลงโทษน้อย แต่บางคดีศาลลงโทษหนัก ทั้งที่เป็นข้อหาตัดไม้ป่าสงวนเหมือนกัน
ตอบ ข้อหาเหมือนกันก็จริง แต่คดีป่าสงวน ศาลดูจำนวนเนื้อหาที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหาย หากเสียหาย ๒ ไร่ จะลงโทษเท่ากับคนตัดไม้เสียหาย ๕๐ ไร่ไม่ได้ คดีนี้สภาพการกระทำผิดมีการทำลายป่าเป็นวงกว้าง
๗) สมมุติว่า จำเลยไปรับจ้างนายทุนเข้าไปดายหญ้าในป่าสงวน จะมีความผิดหรือไม่
ตอบ มีความผิด ตามฎีกาที่ 2914/2524
อ้างอิงฎีกาที่ 2914/2524 การดายหญ้าในเขตป่าสงวนแห่งชาติคือการก่นสร้างหรือแผ้วถางในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้จำเลยจะกระทำโดยรับจ้างหรือถูกใช้ให้กระทำ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นตัวการในการกระทำความผิดนั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83หาใช่จะถือว่าผู้รับจ้างไม่มีเจตนาที่จะแผ้วถางป่าไม่ อนึ่ง ตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ไว้นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องตามที่โจทก์ฎีกาว่า การทำลายป่าสงวนแห่งชาติเป็นความผิดที่ร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงซึ่งไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นข้อหาที่ทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ใช่ข้อหาเก็บของป่า (เก็บเห็ด) แต่ถูกดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันบุกรุกและทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากบุคคลทั้งสองอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุและมีการวิ่งหลบหนีการจับกุมไปพร้อมกันกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันตัดไม้สัก 700 ต้น (จึงถูกตั้งข้อหาว่าเป็นตัวการร่วมกับขบวนการตัดไม้) ซึ่งความผิดฐานบุุกรุกป่าสงวน มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท และความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตรารัฐบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาทถึงสองแสนบาท เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษทุกกระทงความผิดตามคำพิพากษา การกระทำที่จำเลยทั้งสองรับสารภาพนั้น เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวน ตามพรบ.ป่าสงวนฯ มาตรา 14,31 วรรคสอง (ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) และความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตรารัฐบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพรบ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง,54 วรรคหนึ่ง 69 วรรคสอง 72 ตรี วรรคสอง 73 วรรคสอง (ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาทถึงสองแสนบาท เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจึงลงโทษทุกกระทงความผิด ข้อหาบุกรุก ศาลลงโทษจำคุก 11 ปี ส่วนข้อหาตัดไม้ ลงโทษจำคุก 19 ปี รวมจำคุก 30 ปี แต่เนื่องจากรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษคงเหลือ 15 ปีในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ให้ศาลรอการลงโทษ โดยอ้างว่า รับสารภาพไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (แต่เนื่องจากการกลับคำรับสารภาพ ตามแนวฎีกาที่ 3127/2550) ถือว่าเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่รับว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลยหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายืนจากการถามตอบเบื้องต้น อาจพอทำให้หลายๆคน เริ่มจะพอเข้าใจได้บ้างนะครับว่า ตายาย ไม่ได้ติดคุกเพราะคดีเก็บเห็ดแต่อย่างใด
ขอบคุณข้อมูลจาก:หลักและคำพิพากษา/กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา